วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Web เข้าพรรษา

 


 

 

Web เข้าพรรษา

 

    หน้า Home    เว็บไซด์ของพวกเราทำเรื่องเกี่ยวกับวันเข้าพรรษา จึงเน้นสีของเว็บให้เป็นสีโทน ส้ม-เหลือง คล้ายสีของพระ หรือเทียน ส่วนหัวของหน้าแรกจะใช้ภาพที่ทำจากโฟโต้ช๊อปที่เขียนว่า วันเข้าพรรษา และสโลแกน.....ถัดจากสโลแกนลงมาจะเป็นแถบยาว ขนาดไม่ใหญ่เท่ากับเฮด เป็นแถบที่จะวาง link ของหน้าต่างๆในเว็บ ประกอบด้วย หน้าประวัติ กิจกรรมในวันเข้าพรษา ภาพวันเข้าพรรษา  ต่อมาทางด้านซ้ายยาวลงมาจะทำlinkไปยังเว็บไซด์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น สนทนาธรรมะ การนั่งกรรมฐาน  ส่วนตรงกลางของเว็บไซด์จะใส่ VDO Clip รณรงค์วันเข้าพรรษา

    ด้านล่างสุดของหน้าเว็บจะใส่แถบหน้าlinkเช่นเดียวกับข้างบน  เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน

 

    หน้า ประวัติ เป็นหน้าที่linkมาจากหน้า Home  ส่วนบนจะเป็นสโลแกนเข้าพรรษา ต่อมาในหน้าเว็บจะใส่ข้อมูลประวัติและภาพเกี่ยวกับวันเข้าพรรษา และจะมี link ประเภทของการเข้าพรรษาอยู่ 2 ประเภท หน้าที่ link ไปก็จะมีเฮดเป็นสโลแกน เข้าพรรษา เช่นกัน

 

 

ความหมาย

 

 

 

 

    "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน แก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่า ไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบ การจำพรรษา ให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทัน ในหมู่บ้าน หรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริก ตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

 


    วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา

          1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม

          2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน
ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม


 


    อ้างอิงจาก http://www.zabzaa.com/event/kounpansa.htm


    

    หน้า กิจกรรม จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำในวันเข้าพรรษาโดยจะเริ่มตังแต่ช่วงเช้าจนถึงตอนค่ำ ต่อมาด้านล่างจะทำ link ไปยังหน้าของจังหวัดต่างๆที่จัดงานเข้าพรรษา โดยจะมีข้อมูลของงานแต่ละภาครวมถึงภาพประกอบบางส่วน  ส่วนด้านบนของหน้า link จะใส่คำขวัญและภาพประกอบของจังหวัดต่างๆ ส่วนในหน้าเว็บก็จะใส่ข้อมูลของกิจกรรม

 

 

กิจของสงฆ์

 

    ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า


อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ


หรือว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ


แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้ (ว่า 3 ครั้ง)


    หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ


 

    อ้างอิงจาก  http://www.zabzaa.com/event/kounpansa.htm

 

    

    link ไปยังหน้าของจังหวัดต่างๆที่จัดงานเข้าพรรษาในแต่ละภาค

 

 

 ดูรูปภาพ ประเพณีแห่เทียนพรรษา   

 

ชื่อ        ประเพณีแห่เทียนพรรษา 

ภาค       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัด    อุบลราชธานี

 


ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (วันเข้าพรรษา)

ความสำคัญ
วันเข้าพรรษา ตามประเพณีทางศาสนาแต่เดิม ประชาชนนำเทียนที่หล่อและแกะสลักสวยงามถวายพระสงฆ์ เพื่อจุดบูชาระหว่างเข้าพรรษา ต่อมาจัดให้มีการประกวดต้นเทียนพรรษาโดยแบ่งเป็น ๓ ประเภทได้แก่ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดเป็นงานประจำปีและงานระดับชาติ โดยเพิ่มกิจกรรมและระยะเวลาการจัดงาน เช่น มีการสมโภชเทียนพรรษาพระราชทาน จัดงานพาแลง แสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง และการประกวดธิดาเทียน

พิธีกรรม
๑. ชาวบ้านแต่ละคุ้มจัดวัสดุอุปกรณ์ในการหล่อเทียน จัดทำต้นเทียนทั้งแกะสลักและติดพิมพ์
๒. รวมเทียนที่ตกแต่งแล้ว ก่อนพิธีเปิดงานแห่เทียน ๑ วัน
๓. จัดประกวดโดยแบ่งเป็นประเภท
๔. ถวายต้นเทียนพรรษาแก่วัด และเก็บรักษาไว้จัดในปีต่อไป

สาระ
๑. คุณค่าด้านทัศนศิลป์ ในการออกแบบต้นเทียนและส่วนประกอบ
๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การถ่ายทอดวรรณกรรมออกมาในรูป กลอนลำ ผญา ประกอบท่าร่ายรำในขบวนแห่ และการประยุกต์ตำนานในพุทธประวัติมาสร้างเป็นเรื่องราวประกอบต้นเทียนและองค์ประกอบ
๓. คุณค่าด้านศิลปการแสดง ประกอบด้วยการเล่นดนตรีพื้นเมือง อาทิ พิณ (ซุง) แคน กลอง และโหวตในรูปของโปงลาง
๔. คุณค่าด้านนันทนาการและการสื่อสารมวลชน
๕. คุณค่าด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน

 

 

    

 ดูรูปภาพ ประเพณีเทียนพรรษา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา

 

ชื่อ        ประเพณีเทียนพรรษา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา

ภาค       ภาคกลาง

จังหวัด    พระนครศรีอยุธยา

 


ช่วงเวลา จัดพิธีกรรมจำนวน ๒ วัน ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อนวันเข้าพรรษา ๑ สัปดาห์

ความสำคัญ
วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน ๘ วันนี้มีความสำคัญ คือ เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร โดยแสดงให้เห็นทางสุดโต่ง ๒ อย่าง คือ การมัวเมาอยู่ในกาม (กามสุขัลลิกานุโยค) และการทรมานตัวเอง (อัตมกิลถานุโยค) เช่น การอดอาหารทำให้ร่างกายผอมโซ ว่าไม่ใช่ทางไปสู่การบรรลุนิพพาน แต่ทรงเน้นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ว่า เป็นทางที่ถูกต้อง เป็นผลให้ฤาษีโกณฑัญญะบรรลุโสดาปัตติผล ทูลขอบวชเป็นพระสาวก รูปแรก ทำให้เกิดมีพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นแก้วอันประเสริฐ ๓ ประการ
วันเข้าพรรษา การเข้าพรรษาเป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในระหว่างฤดูฝน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ในสมัยพุทธกาลการที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะ ไม่ไปค้างแรมที่อื่น เพื่อไม่ต้องไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวนาให้เสียหาย ทำให้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ในพระธรรมวินัย มีโอกาสเจริญศีล สมาธิ ปัญญาและมีโอกาสเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้ด้วย
สำหรับประชาชนทั่วไป เทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา จะเป็นเทศกาลของการ ลด ละ เลิก อบายมุขต่าง ๆ เช่น การดื่มสุรา สิ่งเสพติด และการเที่ยวเตร่ เป็นเทศกาลของการทำบุญถือศีล ปฏิบัติธรรม ทำจิตใจให้ผ่องใส

พิธีกรรมและกิจกรรม
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ ส่วนราชการและสถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัด และองค์กรเอกชน เห็นความสำคัญของวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ๒ วันนี้ และตั้งใจที่จะสืบทอดประเพณีเนื่องในวันสำคัญนี้ให้คงอยู่ต่อไป จึงได้จัดให้มีงานประเพณีหล่อเทียน เทเทียน ขึ้นที่บริเวณหน้าวิหารหลวงพ่อมงคลบพิตรก่อนวันอาสาฬหบูชา โดยมีพิธีสงฆ์และพิธีเทเทียน โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ในเวลาเช้า สำหรับในเวลาเย็นและกลางคืนเป็นกิจกรรมมหรสพต่าง ๆ เพื่อการเฉลิมฉลองเทียนพรรษาและกิจกรรมประกวดเทียนพรรษาของหน่วยราชการ สถานศึกษา และองค์กรต่าง ๆ โดยยึดหลักเกณฑ์ความสวยงาม ความคิด และการประหยัด วันรุ่งขึ้นจะมีขบวนแห่
เทียนพรรษาไปโดยรอบตลาดเจ้าพรหมและหัวรอ มีการประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาด้วย แต่ละปีมีเทียนพรรษาและขบวนแห่ส่งเข้าประกวดจำนวนมาก จัดเป็นงานประเพณีที่สำคัญงานหนึ่งของจังหวัด

สาระ
ผลที่ได้จากงานประเพณีนี้ คือ ความสุขทางใจ ความสามัคคี และการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยให้คงอยู่สืบไป

 

    


                


 

                

 

    หน้ารูปภาพ ด้านบนใส่สโลแกน ด้านล่างมีภาพกิจกรรมวันเข้าพรรษา พร้อมคำอธิบายประกอบนิดหน่อย

 

    ภาพกิจกรรมวันเข้าพรรษา ที่เทศบาลเมืองท่าช้าง

 

 


    


 

    

    ภาพงานขบวนแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี


 

 



 


    อ้างอิงจาก http://www.igetweb.com/www/nongsai/news/6382.jpg


วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

MY MAP


ดู MicKeY พาไป ม.รังสิต^0^ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Rich Internet application


เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่มีความสามารถของเดสก์ท็อปแอปพลิเคชัน โดยทั่วไปแล้ว RIA
จะทำงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนติดต่อผู้ใช้บนเครื่องของผู้ใช้ แต่จะเก็บข้อมูลต่างๆ
(เช่น สถานะของโปรแกรม) ไว้บนแอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์

โดยปกติแล้ว RAI
จะรันในเว็บเบราว์เซอร์ หรือไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมเป็นพิเศษ
ทำงานบนเครื่องของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด (sandbox) ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย


เทคโนโลยี RIA ในปัจจุบัน
>> AJAX
>>
Adobe Flash, Adobe Flex และ Adobe AIR
>>
OpenLaszlo
>>
JavaFX
>>
จาวาแอพเพล็ต
>>
Microsoft Silverlight
>>
ActiveX
>>
XUL

แหล่งข้อมูลจาก>> http://th.wikipedia.org/wiki/Rich_Internet_application